จากที่เคยแนะนำ25 ประเภทกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันซีเกมส์ 2009 ไปแล้วนั้น มาวันนี้เอารูปสัตว์นำโชคหรือมาสคอตของกีฬาประเภทต่างๆในซีเกมส์ 2009 มาฝากกันครับ
วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552
วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552
25 ประเภทกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันซีเกมส์ 2009
สำหรับประเภทกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 25 หรือซีเกมส์ 2009 ณ นครเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้น มได้ถูกคัดเลือกแล้ว โดยมีประเภทกีฬาทั้งสิ้น 25 รายการ ได้แก่
- ว่ายน้ำ (Aquatic)
- ยิงธนู (Archery)
- กรีฑา (Athletics)
- แบดมินตัน (Badminton)
- บิลเลียดและสนุกเกอร์ (Billiard & Snooker)
- มวยสากลสมัครเล่น (Boxing)
- ปั่นจักรยาน (Cycling)
- ว่ายน้ำอุปกรณ์ (Fin Swimming)
- ฟุตบอล (Football)
- ตีกอร์ฟ (Golf)
- ยูโด (Judo)
- คาราเต้โด (Karatedo)
- ชกมวย (Muay)
- Pencak Silat
- เปตอง (Petanque)
- เซปัค ตะกร้อ (Sepak Takraw)
- ยิงปืน (Shooting)
- Shuttlecock
- ปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส (Table Tennis)
- เทควันโด (Taekwondo)
- เทนนิส (Tennis)
- วอลเลย์บอล (Vollayball)
- ยกน้ำหนัก (Weightlifting)
- มวยปล้ำ (Wrestling)
- วูซู (Wushu)
วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศลาวหรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ประเทศลาว หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาว: ສາທາລະນະລັດປະຊາທິປະໄຕປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ສປປລ.; อังกฤษ: Lao People's Democratic Republic) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก ตามแผนที่ต่อไปนี้
โดยมีภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิประเทศ ดังนี้
ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14 - 23 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 100 - 108 องศาตะวันออก มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ดังนี้
* ประเทศจีนทางด้านทิศเหนือ (423 กิโลเมตร)
* ประเทศไทยทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก (1,754 กิโลเมตร)
* ประเทศกัมพูชาทางด้านทิศใต้ (541 กิโลเมตร)
* ประเทศเวียดนามทางด้านทิศตะวันออก (2,130 กิโลเมตร)
* ประเทศพม่าทางด้านทิศตะวันตก (235 กิโลเมตร)
ความยาวพื้นที่ประเทศลาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700 กว่ากิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศของลาวอาจแบบได้เป็น 3 เขต คือ
1. เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
2. เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดน กัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)
3. เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและ แม่น้ำต่างๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสะหวันนะเขด ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาสักทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
ทั้งนี้ เมื่อนำเอาพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่ภูเบี้ย ในแขวงเชียงขวาง วัดความสูงได้ 2,817 เมตร (9,242 ฟุต)
ประเทศลาวมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย โดยแม่น้ำซึ่งเป็นสายหัวใจหลักของประเทศคือแม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวเป็นระยะทาง 1,835 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรม การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้ และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ แม่น้ำสายสำคัญของลาวแห่งอื่นๆ ยังได้แก่
* แม่น้ำอู (พงสาลี - หลวงพะบาง) ยาว 448 กิโลเมตร
* แม่น้ำงึม (เชียงขวาง-เวียงจันทน์) ยาว 354 กิโลเมตร
* แม่น้ำเซบั้งเหียง (สะหวันนะเขด) ยาว 338 กิโลเมตร
* แม่น้ำทา (หลวงน้ำทา-บ่อแก้ว) ยาว 325 กิโลเมตร
* แม่น้ำเซกอง (สาละวัน-เซกอง-อัดตะบือ) ยาว 320 กิโลเมตร
* แม่น้ำเซบั้งไฟ (คำม่วน-สะหวันนะเขด) ยาว 239 กิโลเมตร
* แม่น้ำแบ่ง (อุดมไซ) ยาว 215 กิโลเมตร
* แม่น้ำเซโดน (สาละวัน-จำปาสัก) ยาว 192 กิโลเมตร
* แม่น้ำเซละนอง (สะหวันนะเขด) ยาว 115 กิโลเมตร
* แม่น้ำกะดิ่ง (บอลิคำไซ) ยาว 103 กิโลเมตร
* แม่น้ำคาน (หัวพัน-หลวงพระบาง) ยาว 90 กิโลเมตร
และมีลักษณะภูมิอากาศ ดังนี้
สปป. ลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือ และ เขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 8,500 - 9,000 องศาเซลเซียส ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300 - 2,400 ชั่วโมง (ประมาณ 6.3 - 6.5 ชั่วโมงต่อวัน) ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีประมาณร้อยละ 70 - 85 ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม) มีร้อยละ 75 - 90 ส่วนในฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤษจิกายน ถึงเมษายน) ปริมาณน้ำฝนมีเพียงร้อยละ 10 - 25 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่เขตก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณแขวงเซียงขวาง
แขวงหลวงพะบาง แขวงไซยะบุลี ได้รับเพียงแค่ 100 - 150 เซนติเมตร ส่วนแขวงเวียงจันและสะหวันนะเขดในช่วง 150 - 200 เซนติเมตร เช่นเดียวกับแขวงพงสาลี แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว
@ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเทศลาว (ภาษาไทย)
@for more information about Laos (English)
โดยมีภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิประเทศ ดังนี้
ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14 - 23 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 100 - 108 องศาตะวันออก มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ดังนี้
* ประเทศจีนทางด้านทิศเหนือ (423 กิโลเมตร)
* ประเทศไทยทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก (1,754 กิโลเมตร)
* ประเทศกัมพูชาทางด้านทิศใต้ (541 กิโลเมตร)
* ประเทศเวียดนามทางด้านทิศตะวันออก (2,130 กิโลเมตร)
* ประเทศพม่าทางด้านทิศตะวันตก (235 กิโลเมตร)
ความยาวพื้นที่ประเทศลาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700 กว่ากิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศของลาวอาจแบบได้เป็น 3 เขต คือ
1. เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
2. เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดน กัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)
3. เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและ แม่น้ำต่างๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสะหวันนะเขด ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาสักทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
ทั้งนี้ เมื่อนำเอาพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่ภูเบี้ย ในแขวงเชียงขวาง วัดความสูงได้ 2,817 เมตร (9,242 ฟุต)
ประเทศลาวมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย โดยแม่น้ำซึ่งเป็นสายหัวใจหลักของประเทศคือแม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวเป็นระยะทาง 1,835 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรม การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้ และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ แม่น้ำสายสำคัญของลาวแห่งอื่นๆ ยังได้แก่
* แม่น้ำอู (พงสาลี - หลวงพะบาง) ยาว 448 กิโลเมตร
* แม่น้ำงึม (เชียงขวาง-เวียงจันทน์) ยาว 354 กิโลเมตร
* แม่น้ำเซบั้งเหียง (สะหวันนะเขด) ยาว 338 กิโลเมตร
* แม่น้ำทา (หลวงน้ำทา-บ่อแก้ว) ยาว 325 กิโลเมตร
* แม่น้ำเซกอง (สาละวัน-เซกอง-อัดตะบือ) ยาว 320 กิโลเมตร
* แม่น้ำเซบั้งไฟ (คำม่วน-สะหวันนะเขด) ยาว 239 กิโลเมตร
* แม่น้ำแบ่ง (อุดมไซ) ยาว 215 กิโลเมตร
* แม่น้ำเซโดน (สาละวัน-จำปาสัก) ยาว 192 กิโลเมตร
* แม่น้ำเซละนอง (สะหวันนะเขด) ยาว 115 กิโลเมตร
* แม่น้ำกะดิ่ง (บอลิคำไซ) ยาว 103 กิโลเมตร
* แม่น้ำคาน (หัวพัน-หลวงพระบาง) ยาว 90 กิโลเมตร
และมีลักษณะภูมิอากาศ ดังนี้
สปป. ลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือ และ เขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 8,500 - 9,000 องศาเซลเซียส ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300 - 2,400 ชั่วโมง (ประมาณ 6.3 - 6.5 ชั่วโมงต่อวัน) ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีประมาณร้อยละ 70 - 85 ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม) มีร้อยละ 75 - 90 ส่วนในฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤษจิกายน ถึงเมษายน) ปริมาณน้ำฝนมีเพียงร้อยละ 10 - 25 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่เขตก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณแขวงเซียงขวาง
แขวงหลวงพะบาง แขวงไซยะบุลี ได้รับเพียงแค่ 100 - 150 เซนติเมตร ส่วนแขวงเวียงจันและสะหวันนะเขดในช่วง 150 - 200 เซนติเมตร เช่นเดียวกับแขวงพงสาลี แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว
@ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเทศลาว (ภาษาไทย)
@for more information about Laos (English)
ป้ายกำกับ:
ความรู้ทั่วไป,
ประเทศลาว,
สปปล.,
Laos,
ສປປລ.
คำขวัญหรือธีม ประจำซีเกมส์ 2009
วันก่อน เราได้ดูที่มาและความหมายของ สัตว์นำโชค หรือ "มาสคอต" (Mascot) ประจำซีเกมส์ 2009 ไปแล้ว มาวันนี้ เรามาดูคำขวัญหรือธีม ประจำซีเกมส์ 2009 กันดีกว่านะครับ
สำหรับคำขวัญหรือธีม(Theme) ประจำซีเกมส์ 2009 ได้ใช้ข้อความ ซึ่งอ่านออกเสียงและเขียนเป็นภาษาไทยว่า "ความมีน้ำใจ ไมตรีจิต ชีวิตสดชื่น" และเป็นภาษาอังกฤษว่า "Generosity Amity Healthy lifestyle" ดังรูป
สำหรับคำขวัญหรือธีม(Theme) ประจำซีเกมส์ 2009 ได้ใช้ข้อความ ซึ่งอ่านออกเสียงและเขียนเป็นภาษาไทยว่า "ความมีน้ำใจ ไมตรีจิต ชีวิตสดชื่น" และเป็นภาษาอังกฤษว่า "Generosity Amity Healthy lifestyle" ดังรูป
ป้ายกำกับ:
คำขวัญ,
คำขวัญซีเกมส์ 2009,
ซีเกมส์ 2009,
ธีม,
Theme
วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552
สัตว์นำโชค หรือ "มาสคอต" (Mascot) ประจำซีเกมส์ 2009
หลังจากที่เราได้ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการออกแบบ รูปสัญลักษณ์โลโก้ซีเกมส์ 2009 ไปแล้ว มาวันนี้ เรามาดูรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกสัตว์นำโชค หรือ "มาสคอต" (Mascot) ประจำซีเกมส์ 2009 กันดีกว่านะครับ
สำหรับสัตว์นำโชค หรือ "มาสคอต" (Mascot) ประจำซีเกมส์ 2009 นั้นเป็นช้างเผือกคู่ที่มีงาเป็นสีมรกต ซึ่งช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง ของประเทศสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมาช้านาน โดยช้างเพศผู้หรือช้างพลายมีชื่อว่า "จำปา" และช้างเพศเมียหรือช้างพังมีชื่อว่า "จำปี" ซึ่งช้างทั้งสองเชือกแต่งด้วยเสื้อผ้าชุดแต่งกายประจำชาติลาว และมีหน้าตาที่กำลังยิ้มแย้ม และมีความสุข ซึ่งสื่อถึงการแข่งขันกีฬาอย่างสนุกสนานและมีชีวิตชีวา และที่สำัคัญยังเป็นการแสดงถึงการยินดีต้อนรับอย่างอบอุ่น ของประเทศประเทศสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กับการเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2009 นี้ด้วย
สำหรับสัตว์นำโชค หรือ "มาสคอต" (Mascot) ประจำซีเกมส์ 2009 นั้นเป็นช้างเผือกคู่ที่มีงาเป็นสีมรกต ซึ่งช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง ของประเทศสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมาช้านาน โดยช้างเพศผู้หรือช้างพลายมีชื่อว่า "จำปา" และช้างเพศเมียหรือช้างพังมีชื่อว่า "จำปี" ซึ่งช้างทั้งสองเชือกแต่งด้วยเสื้อผ้าชุดแต่งกายประจำชาติลาว และมีหน้าตาที่กำลังยิ้มแย้ม และมีความสุข ซึ่งสื่อถึงการแข่งขันกีฬาอย่างสนุกสนานและมีชีวิตชีวา และที่สำัคัญยังเป็นการแสดงถึงการยินดีต้อนรับอย่างอบอุ่น ของประเทศประเทศสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กับการเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2009 นี้ด้วย
ป้ายกำกับ:
จำปา,
จำปี,
ซีเกมส์ 2009,
มาสคอต,
สัตว์นำโชค,
Mascot
วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552
รูปสัญลักษณ์โลโก้ซีเกมส์ 2009
อีกไม่กี่เดือนก็จะถึงงานมหกรรมกีฬาของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซีเกมส์ ครั้งที่ 25 แล้วนะครับ ซึ่งซีเกมส์ 2009 ครั้งที่ 25 นี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-12 ธันวาคม 2552 ที่ นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว บ้านพี่เมืองน้องของเรานี่เอง
แต่ก่อนที่เราจะได้ติดตามชมกีฬาซีเกมส์ 2009 เรามาดูรูปตราสัญลักษณ์หรือโลโก้และความหมายของรูปตราสัญลักษณ์ประจำซีเกมส์ 2009 กันก่อนดีกว่านะครับ
สำหรับรูปสัญลักษณ์หรือโลโก้ซีเกมส์ 2009 นี้ ได้ถูกออกแบบตามแนวคิดที่ผสมผสานระหว่างการแข่งขันกีฬาที่ทันสมัย สง่างาม มีเสน่ห์ น่าดึงดูดใจ และศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์อันสูงค่าที่มีมาช้านาน
โดยได้ใช้รูปพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญ และถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาติ พร้อมกับรูปแม่น้ำโขงที่ไหลเอื่อยอยู่เบื้องล่าง โดยถือเป็นแม่น้ำเพื่อชีวิตสายสำคัญที่ยิ่งใหญ่ของชนชาติลาว ซึ่งเป็นสัญลักษ์แทนการรวมกลุ่มของประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งแสดงถึงความมีน้ำจิตน้ำใจไมตรีที่ดีต่อกันในการแข่งขันกีฬา และรูปตัวอักษร "25th SEA GAMES, LAOS VIENTIANE 2009" ได้ใช้แบบตัวอักษรโบราณของลาวในการออกแบบด้วย
แต่ก่อนที่เราจะได้ติดตามชมกีฬาซีเกมส์ 2009 เรามาดูรูปตราสัญลักษณ์หรือโลโก้และความหมายของรูปตราสัญลักษณ์ประจำซีเกมส์ 2009 กันก่อนดีกว่านะครับ
สำหรับรูปสัญลักษณ์หรือโลโก้ซีเกมส์ 2009 นี้ ได้ถูกออกแบบตามแนวคิดที่ผสมผสานระหว่างการแข่งขันกีฬาที่ทันสมัย สง่างาม มีเสน่ห์ น่าดึงดูดใจ และศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์อันสูงค่าที่มีมาช้านาน
โดยได้ใช้รูปพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญ และถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาติ พร้อมกับรูปแม่น้ำโขงที่ไหลเอื่อยอยู่เบื้องล่าง โดยถือเป็นแม่น้ำเพื่อชีวิตสายสำคัญที่ยิ่งใหญ่ของชนชาติลาว ซึ่งเป็นสัญลักษ์แทนการรวมกลุ่มของประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งแสดงถึงความมีน้ำจิตน้ำใจไมตรีที่ดีต่อกันในการแข่งขันกีฬา และรูปตัวอักษร "25th SEA GAMES, LAOS VIENTIANE 2009" ได้ใช้แบบตัวอักษรโบราณของลาวในการออกแบบด้วย
ซีเกมส์ 2009
ซีเกมส์ 2009 เป็นมหกรรมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ซึ่งจะจัดขึ้นที่นครเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในระหว่างวันที่ 3-12 ธันวาคม พ.ศ. 2552 โดยมีตัวนำโชคเป็นช้างเผือก งานิล 2 เชือก ตัวผู้ ชื่อ "จำปา" และ ตัวเมีย ชื่อ "จำปี" และใช้สัญลักษณ์การแข่งขันเป็นรูปพระธาตุหลวง ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของชาติ และถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ส่วนสัญลักษณ์นำเอาอักษรลาวโบราณมาจัดทำ และใช้คำขวัญหรือธีม ประจำซีเกมส์ 2009 นี้ ความว่า "ความมีน้ำใจ ไมตรีจิต ชีวิตสดชื่น" ดังรูปต่อไปนี้
การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งนี้ลาวได้รับความช่วยเหลือจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศจีนให้เงินสนับสนุนถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,600 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่บนเนื้อที่กว่า 300 ไร่บนป่าเสื่อมโทรมในกรุงเวียงจันทน์[1] และประเทศลาวได้แสดงความจำนงขอความช่วยเหลือจากประเทศไทย 3 ประเด็น คือ จัดส่งผู้ฝึกสอนช่วยฝึกซ้อมนักกีฬาลาว รับการสนับสนุนอุปกรณ์กีฬาภายหลังจากที่ไทยใช้จัดการแข่งขันซีเกมส์ 2007 และต้องการให้ไทยช่วยเหลือปรับปรุงซ่อมแซมสนามแข่งขันบางสนาม ทั้งนี้เนื่องจากไทยมีประสบการณ์จัดซีเกมส์มาหลายครั้ง และต้องการสานสัมพันธ์ไทย-ลาวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ประเทศลาวไม่สามารถจัดการแข่งขันได้ ประเทศสิงคโปร์ จะรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพแทน ซึ่งแต่เดิมนั้นสิงคโปร์จะต้องเป็นเจ้าภาพการแข่งขันในปี 2007 แต่จำเป็นต้องถอนตัวเนื่องจากศูนย์กีฬาที่จะใช้ทำการแข่งขันนั้นสร้างเสร็จไม่ทัน
การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งนี้ลาวได้รับความช่วยเหลือจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศจีนให้เงินสนับสนุนถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,600 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่บนเนื้อที่กว่า 300 ไร่บนป่าเสื่อมโทรมในกรุงเวียงจันทน์[1] และประเทศลาวได้แสดงความจำนงขอความช่วยเหลือจากประเทศไทย 3 ประเด็น คือ จัดส่งผู้ฝึกสอนช่วยฝึกซ้อมนักกีฬาลาว รับการสนับสนุนอุปกรณ์กีฬาภายหลังจากที่ไทยใช้จัดการแข่งขันซีเกมส์ 2007 และต้องการให้ไทยช่วยเหลือปรับปรุงซ่อมแซมสนามแข่งขันบางสนาม ทั้งนี้เนื่องจากไทยมีประสบการณ์จัดซีเกมส์มาหลายครั้ง และต้องการสานสัมพันธ์ไทย-ลาวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ประเทศลาวไม่สามารถจัดการแข่งขันได้ ประเทศสิงคโปร์ จะรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพแทน ซึ่งแต่เดิมนั้นสิงคโปร์จะต้องเป็นเจ้าภาพการแข่งขันในปี 2007 แต่จำเป็นต้องถอนตัวเนื่องจากศูนย์กีฬาที่จะใช้ทำการแข่งขันนั้นสร้างเสร็จไม่ทัน
ป้ายกำกับ:
คำขวัญ,
ซีเกมส์ 2009,
ตราสัญลักษณ์,
มาสคอต,
เวียงจันทน์เกมส์ 2009,
สัตว์นำโชค
วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552
ประวัติความเป็นมากีฬาซีเกมส์
ประวัติความเป็นมาโดยคร่าวๆของกีฬาซีเกมส์
กีฬาซีเกมส์ (Southeast Asian Games หรือ SEA Games) เป็นการแข่งขันกีฬาของกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11 ประเทศ โดยจัดขึ้น 2 ปีต่อ 1 ครั้ง การแข่งขันดำเนินตามกฎข้อบังคับของสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Games Federation) โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee หรือ IOC) และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia) ซึ่งได้ใช้ตราสัญลักษณ์และธงของสมาพันธ์ซีเกมส์ ดังรูปต่อไปนี้
เป็นตราสัญลักษณ์และธงของสมาพันธ์ซีเกมส์ ซึ่งห่วงแต่ละห่วงนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาซีเกมส์นั่นเอง
ซึ่งแต่เดิมนั้นเรียก กีฬาซีเกมส์ ว่า กีฬาแหลมทอง จนกระทั่งปี 2520 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ซีเกมส์ เหมือนในปัจจุบัน
ซึ่งประวัติความเป็นมาโดยละเอียดของกีฬาซีเกมส์นั้นมีดังนี้
กีฬาซีเกมส์ นั้นเดิมเรียกว่า กีฬาแหลมทอง (Southeast Asian Peninsular Games) หรือ เซียปเกมส์ (SEAP Games) ครั้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ประเทศสมาชิกในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 3 ณกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และได้จัดประชุมตกลงที่จะก่อตั้งองค์กรการกีฬาขึ้น
กีฬาแหลมทองนั้นได้รับการเสนอแนวคิดจากหลวงสุขุมนัยประดิษฐ และยังเป็นผู้ก่อตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งก็คือ การกีฬาแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งต่อมาได้เป็นรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ข้อเสนอนั้นมีอยู่ว่า การจัดการแข่งขันกีฬาจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือ ความเข้าใจ และความสัมพันธ์ในบรรดาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศไทย, พม่า, มาเลเซีย , ลาว, เวียดนาม และกัมพูชา (และสิงคโปร์มา ร่วมในภายหลัง) ถือเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง ประเทศเหล่านี้มีความตกลงร่วมกันที่จะจัดการแข่งขันกีฬาขึ้นแบบสองปีครั้ง และได้จัดตั้งคณะกรรมการสหพันธ์กีฬาแหลมทองขึ้น (SEAP Games Federation Committee)
กีฬาแหลมทองครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 12 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) โดยมีเจ้าหน้าที่และนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 527 คน จากประเทศไทย, พม่า, มาเลเซีย, สิงคโปร์, เวียดนาม และลาว โดยมีกีฬาทั้งหมด 12 ชนิด
ในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 8 เมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) สมาพันธ์กีฬาแหลมทองมีมติให้รับประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เข้าร่วมเป็นสมาชิกแข่งขันด้วย และได้บรรจุเข้าเป็นประเทศสมาชิกแข่งขันอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) และในปีเดียวกันนั้นสมาพันธ์ฯ ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Games Federation หรือ SEAGF) และเรียกการแข่งขันว่า ซีเกมส์ (Southeast Asian Games) ประเทศบรูไนนั้นได้เข้าร่วมแข่งขันในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 10 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศติมอร์ตะวันออกเป็นประเทศล่าสุดที่เข้าร่วมการแข่งขันซีเกมส์ โดยเข้าแข่งขันครั้งแรกในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 22 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
และในปัจจุบันกีฬาซีเกมส์มีประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 11 ประเทศ ซึ่งได้แก่
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C
กีฬาซีเกมส์ (Southeast Asian Games หรือ SEA Games) เป็นการแข่งขันกีฬาของกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11 ประเทศ โดยจัดขึ้น 2 ปีต่อ 1 ครั้ง การแข่งขันดำเนินตามกฎข้อบังคับของสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Games Federation) โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee หรือ IOC) และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia) ซึ่งได้ใช้ตราสัญลักษณ์และธงของสมาพันธ์ซีเกมส์ ดังรูปต่อไปนี้
เป็นตราสัญลักษณ์และธงของสมาพันธ์ซีเกมส์ ซึ่งห่วงแต่ละห่วงนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาซีเกมส์นั่นเอง
ซึ่งแต่เดิมนั้นเรียก กีฬาซีเกมส์ ว่า กีฬาแหลมทอง จนกระทั่งปี 2520 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ซีเกมส์ เหมือนในปัจจุบัน
ซึ่งประวัติความเป็นมาโดยละเอียดของกีฬาซีเกมส์นั้นมีดังนี้
กีฬาซีเกมส์ นั้นเดิมเรียกว่า กีฬาแหลมทอง (Southeast Asian Peninsular Games) หรือ เซียปเกมส์ (SEAP Games) ครั้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ประเทศสมาชิกในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 3 ณกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และได้จัดประชุมตกลงที่จะก่อตั้งองค์กรการกีฬาขึ้น
กีฬาแหลมทองนั้นได้รับการเสนอแนวคิดจากหลวงสุขุมนัยประดิษฐ และยังเป็นผู้ก่อตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งก็คือ การกีฬาแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งต่อมาได้เป็นรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ข้อเสนอนั้นมีอยู่ว่า การจัดการแข่งขันกีฬาจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือ ความเข้าใจ และความสัมพันธ์ในบรรดาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศไทย, พม่า, มาเลเซีย , ลาว, เวียดนาม และกัมพูชา (และสิงคโปร์มา ร่วมในภายหลัง) ถือเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง ประเทศเหล่านี้มีความตกลงร่วมกันที่จะจัดการแข่งขันกีฬาขึ้นแบบสองปีครั้ง และได้จัดตั้งคณะกรรมการสหพันธ์กีฬาแหลมทองขึ้น (SEAP Games Federation Committee)
กีฬาแหลมทองครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 12 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) โดยมีเจ้าหน้าที่และนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 527 คน จากประเทศไทย, พม่า, มาเลเซีย, สิงคโปร์, เวียดนาม และลาว โดยมีกีฬาทั้งหมด 12 ชนิด
ในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 8 เมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) สมาพันธ์กีฬาแหลมทองมีมติให้รับประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เข้าร่วมเป็นสมาชิกแข่งขันด้วย และได้บรรจุเข้าเป็นประเทศสมาชิกแข่งขันอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) และในปีเดียวกันนั้นสมาพันธ์ฯ ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Games Federation หรือ SEAGF) และเรียกการแข่งขันว่า ซีเกมส์ (Southeast Asian Games) ประเทศบรูไนนั้นได้เข้าร่วมแข่งขันในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 10 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศติมอร์ตะวันออกเป็นประเทศล่าสุดที่เข้าร่วมการแข่งขันซีเกมส์ โดยเข้าแข่งขันครั้งแรกในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 22 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
และในปัจจุบันกีฬาซีเกมส์มีประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 11 ประเทศ ซึ่งได้แก่
- บรูไน
- กัมพูชา
- อินโดนีเซีย
- ลาว
- มาเลเซีย
- พม่า
- ฟิลิปปินส์
- สิงคโปร์
- ไทย
- ติมอร์ตะวันออก
- เวียดนาม
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C
ป้ายกำกับ:
กีฬาซีเกมส์,
ซีเกมส์,
ประวัตกีฬาซีเกมส์,
ประวัติซีเกมส์,
SEA Games History
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)